วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ิblog title : คลื่นกระทบฝั่ง

เพลง คลื่นกระทบฝั่ง


ประวัติเพลง

เพลงคลื่นกระทบฝั่งสองชั้น เป็นเพลงทำนองเก่ารวมอยู่ในเนื้อเพลงฉิ่งโบราณ มีเพลงฟองน้ำ เพลงฝั่งน้ำ และเพลงคลื่นกระทบฝั่ง บรรเลงติดต่อกัน สำหรับเพลงคลื่นกระทบฝั่งที่มีทำนองและชื่อที่เรียกกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นเพลงที่มีลีลาเดียวกันกับเพลงฝั่งน้ำในเรื่องเพลงฉิ่งโบราณ ครูดนตรีท่านหนึ่ง ได้นำทำนองเพลงฝั่งน้ำมาบรรเลงขับกล่อมครั้งแรกและเรียกชื่อเพลงว่า “ คลื่นกระทบฝั่ง” คนทั่วไปจึงเรียกชื่อนี้ตาม จนเกิดความคลาดเคลื่อนจากทำนองเดิมนับแต่นั้นมา เพลงนี้ได้นำมาขับร้องและบรรเลงประกอบการแสดงโขนละครกันอย่างแพร่หลาย ทั้งยังนำมารวมไว้อยู่ในเพลงตับวิวาห์พระสมุทร ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย (ข้อมูลจากกรมศิลปากร)




วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

blog title : เพลงลาวกระทบไม้

เพลง ลาวกระทบไม้


ประวัติเพลง

                "ลาวกระทบไม้"อาจเรียกว่า"รำกระทบไม้" เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวจังหวัดสุรินทร์ เดิมเรียกว่า "เต้นสาก" ประเทศไทยมีอาชีพทางกสิกรรมมาช้านาน การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก หลังจากเลิกงาน จึงนำสากตำข้าวมากระทบกันเป็นเครื่องประกอบจังหวะ พร้อมกับมีการละเล่นให้เข้ากับจังหวะ แต่เดิมคงเป็นจังหวะตำข้าวในลักษณะยืนตำ2 คน ต่อมาจึงลากไม้สากมาวางตามยาว มีคนจับปลายสาก หัว ท้าย ข้างละคน พร้อมทั้งใช้ไม้หมอนรองเคาะเป็นจังหวะ

                ภายหลังกรมศิลปากรได้ศึกษาการละเล่นชนิดนี้ และนำมาปรับปรุงจัดระเบียบแบบแผนเรียงลำดับท่ารำขึ้น โดยไม่ทิ้งเค้าแบบแผนเดิม และได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2500 เนื่องในงานแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกับราชอาณาจักรลาว
ในการปรับปรุงครั้งนั้น เนื่องจากบทร้องของเก่าไม่เหมาะสมที่จะรำได้สวยงาม กรมศิลปากรจึงได้ขอให้อาจารย์มนตรี ตราโมท แต่งบทร้อง และท่านผู้หญิงหม่อม แผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่



 

blog title : เพลงลาวดวงเดือน

เพลง ลาวดวงเดือน


ประวัติเพลง

            เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยเดิมเพลงหนึ่งที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวไทย ทรงพระนิพนธ์โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2425
เดิมเพลงนี้กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมทรงตั้งชื่อว่า เพลงลาวดำเนินเกวียน เพราะทรงโปรด "เพลงลาวดำเนินทราย" ของ พระยาประสานดุริยศัพท์ จึงตั้งพระทัยประพันธ์เพลงสำเนียงลาวที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่เนื่องจากเนื้อร้องที่ขึ้นต้นว่า โอ้ละหนอ...ดวงเดือนเอย.... ทำให้ผู้ฟังนิยมเรียกกันว่า ลาวดวงเดือน เป็นชื่อที่นิยมเรียกสืบมาจนหลงลืมชื่อเดิมที่ผู้ประพันธ์ทรงตั้งไว้
         
           ประวัติของเพลงลาวดวงเดือน มีอยู่ว่า เมื่อกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมได้เสด็จไปนครเชียงใหม่ และเกิดชอบพอกับเจ้าหญิงชมชื่น พระธิดาองค์โตของเจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิงคำย่น ณ ลำพูน ทรงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเถ้าแก่เจรจาสู่ขอ แต่ได้รับการทัดทาน ไม่มีโอกาสที่จะได้สมรสกัน ทำให้พระองค์โศกเศร้ามาก และได้ทรงพระนิพนธ์เพลงนี้ขึ้น เมื่อใดที่ทรงระลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่น ก็จะทรงดนตรีเพลงลาวดำเนินเกวียน (ลาวดวงเดือน) เพลงนี้ หรือให้มหาดเล็กเล่นให้ฟัง มาตลอดพระชนมชีพ

           เนื้อร้องเพลง ลาวดวงเดือน
โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอพี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุม พี่นี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นกรุ่นครันหอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชยเอยเราละเหนอ
โอ้ละหนอนวลตาเอย พี่นี้รักแสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกพี่อาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรมเริศร้างเวหา เฝ้าแต่เบิ่งดูฟ้า(ละหนอ)เห็นมืดมน
พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย
เสียงไก่ขันขานเสียงหวานเจื้อยแจ้ว หวานสุดแล้วหวานแจ้วเจื้อยเอย (ซ้ำ)
ถึงจะหวานเสนาะหวานเพราะกระไรเลย บ่แม้นทรามเชยเราละเหนอ (ซ้ำ)

blog title : เพลงลาวคำหอม

เพลง ลาวคำหอม


ประวัติเพลง

            เพลงลาวคำหอม เป็นเพลงไทยเดิม อัตราสองชั้น สำเนียงลาว จ่าโคม (เผ่น ผยองยิ่ง) นักร้องสักวาผู้มีชื่อเสียงเป็นผู้ประพันธ์ทางร้องขึ้นก่อน ต่อมาพระยาประสานดุริยศัพท์ ได้ประพันธ์ทางเครื่องดนตรีขึ้นรับ เนื่องจากเนื้อที่ใช้ขับร้องกันแต่แรก ขึ้นต้นว่า "หอมดอกไม้คำหอม...." จึงนิยมเรียกกันทั่วไปว่าเพลง "ลาวคำหอม"

คำร้องเพลง ลาวคำหอม
ยามเมื่อลมพัดหวน ลมก็อวลแต่กลิ่นมณฑาทอง
ไม้เอยไม้สุดสูง อย่าสู้ปอง ไผเอยบ่ได้ต้อง แต่ยินนามดวงเอย
โอ้เจ้าดวง เจ้าดวงดอกโกมล กลิ่นหอมเพิ่งผุดพ้น พุ่มในสวนดุสิตา
แข่งแขอยู่แต่นภา ฝูงภุมราสุดปัญญาเรียมเอย
โอ้อกคิดถึง คิดถึงคะนึงนอนวัน
นอนไห้ใฝ่ฝัน เห็นจันทร์แจ่มฟ้า
โอ้อกคิดถึง คิดถึงคะนึงนอนวัน
นอนไห้ใฝ่ฝัน เห็นจันทร์แจ่มฟ้า
ทรงกลด สวยสดโสภา
แสงทองส่องหล้า ขวัญตาเรียมเอย
ทรงกลด สวยสดโสภา
แสงทองส่องหล้า ขวัญตาเรียมเอย

blog title : เพลงลาวครวญ

เพลง ลาวครวญ


ประวัติเพลง

 
             เพลงลาวครวญ เป็นเพลงไทยเดิม ที่เป็นที่ยอมรับว่ามีทำนองหวานเศร้าไพเราะที่สุดเพลงหนึ่ง ประกอบเรื่อง "พระลอ"

        คำร้อง ลาวครวญ

โอ้พระชนนี ชนนีศรีแมนสรวง จะโศกทรวงเสียวรู้สึกระลึกถึง
ไหนทุกข์ถึงบิตุรงค์ บิตุรงค์ทรงรำพึง ไหนโศกซึ้งถึงตูคู่หทัย
ร้อยชู้หรือจะสู้ หรือจะสู้เนื้อเมียตน เมียร้อยคนหรือจะสู้พระแม่ได้
พระแม่อยู่เยือกเย็น เยือกเย็นไม่เห็นใคร หรือกลับไปสู่นครก่อนจะดี
ร้อยชู้หรือจะสู้ หรือจะสู้เนื้อเมียตน เมียร้อยคนหรือจะสู้พระแม่ได้
พระแม่อยู่เยือกเย็น เยือกเย็นไม่เห็นใคร หรือกลับไปสู่นครก่อนจะดี

blog title : เพลงเขมรไทรโยค

เพลง เขมรไทรโยค


ประวัติเพลง
            เพลงเขมรไทรโยค เป็นเพลงไทยเดิม พระนิพนธ์โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสน้ำตกไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑
            สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์โดยได้เค้ามาจากเพลง "เขมรกล่อมลูก" ซึ่งเป็นเพลง ๒ ชั้น ดัดแปลงขึ้นใหม่เป็นเพลง ๓ ชั้น กับได้ทรงพระนิพนธ์บทร้องประกอบบรรยายถึงความงดงามของธรรมชาติ แล้วประทานนามว่า "เขมรไทรโยค" ออกแสดงครั้งแรกในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๑ ต่อมาถูกตัดทอนให้เป็นเพลงชั้นเดียว ใส่เนื้อร้องโดยนางจันทนา พิจิตรคุรุการ และขยายเป็นเพลง ๓ ชั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) กลายเป็น "เพลงเถา" ขึ้นมา

            คำร้อง-ทำนอง: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
บรรยายความตามไท้ เสด็จยาตร ยังไทรโยคประพาสพนาสณฑ์ น้องเอย...เจ้าไม่เคยเห็น
 
ไม้ไร่หลายพันธ์ คละขึ้นปะปน ที่ชายชลเขาชะโงกเป็นโกรกธาร น้ำพุพุ่งซ่านไหลมาฉาดฉาน
 
เห็นตระการ มันไหลจอกโครมจอกโครม มันดังจ้อกจ้อก จ้อกจ้อก โครมโครม
 
น้ำใสไหลจนดู หมู่มัสยา กี่เหล่าหลายว่ายมา ก็เห็นโฉม น้องเอย เจ้าไม่เคยเห็น
 
ยินปักษาซ้องเสียง เพียงประโคม เมื่อยามเย็นพยับโพยมร้องเรียกรัง เสียงนกยูงทอง
มันร้องโด่งดัง
 
หูเราฟังมันร้องดังกระโต้งฮง มันดังก้อก ก้อก ก้อกก้อก กระโต้งฮง